วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาหารไทยที่ชาวต่างชาติชื่นชอบ

           เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าอาหารไทยคือแรงกระตุ้นสำคัญให้ชาวต่างชาติอยากมาเที่ยวเมืองไทยซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และความอร่อยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก เว็บไซต์ top-10-list.org จึงทำการจัดอันดับ 10 สุดยอดอาหารไทยที่ชาวต่างชาติคลั่งไคล้เป็นพิเศษ


อันดับที่ 10 Por Pia Tord or Fried Spring Roll
ปอเปี๊ยะทอด
ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 
ส้มตำ  
หมูสะเต๊ะ 
พะแนง
 ต้มยำไก่   
ต้มยำกุ้ง 

ต้มข่าไก่ 
แกงเขียวหวานไก่
ผัดไทย


อันดับที่ Gai Pad Met Mamuang or Cashew Nuts In Stir-Fried Chicken


อันดับที่ Som Tam or Spicy Papaya Salad


อันดับที่ Moo Sa-Te or Grilled Pork Sticks with Turmeric


 อันดับที่ Panaeng or Meat in Spicy Coconut Cream


อันดับที่ Tom Yam Gai or Chicken Soup (Spicy)


 อันดับที่ Tom Yam Goong or Spicy Shrimp Soup


อันดับที่ Tom Kha Kai Or Chicken In Coconut Milk Soup

อันดับที่ 2  Kang Keaw Wan Kai or Chicken Curry (Green)

อันดับที่ Pad Thai




สูตรอาหาร (แกง ต้ม)


1. แกงป่ากุ้งสด
ส่วนผสม
-กุ้งแชบ๊วยแกะเปลือก ผ่าหลัง 10-15 ตัว-มะเขือเปราะหั่น 3 ลูก-พริกชี้ฟ้าสีเหลืองหั่นแฉลบ 1 เม็ด-น้ำพริกแกงป่าที่โขลก 3 ช้อนโต๊ะ-ข้าวโพดอ่อนหั่นท่อน 1 ซม. 3 ฝัก-ถั่วฝักยาวหั่นท่อน 1 นิัว 2 ฝัก-ใบมะกรูดฉีก 2 ใบ-น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ-น้ำตาลทราย 1/4 ช้อนชา-พริกไทยอ่อน 1 ช่อ-ใบกะเพราเด็ด 1/2 ถ้วย-น้ำเปล่า 3 ถ้วย
ส่วนผสมเครื่องแกง-พริกกระเหรี่ยงแห้ง 1 /4 ถ้วย-เกลือสมุทร 1 ช้อนชา-ข่าแก่หั่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ-ตะไคร้ซอย 2 ต้น-ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ-กระเทียมไทย 3 ช้อนโต๊ะ-พริกไทยเม็ด 1/2 ช้อนชา-กะปิ 2 ช้อนชา
วิธีทำ1.ทำน้ำพริกแกงโดยโขลกเครื่องแกงทั้งหมดเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย พักไว้2.ต้มน้ำในหม้อหรือกระทะด้วยไฟกลางใหเดือด ใส่น้ำพริกแกงป่าที่โขลก คนให้ทั่ว เคี่ยวให้มีกลิ่นหอม พอเดือด ใส่มะเขือเปราะ ข้าวโพดอ่อน ถั่วฝักยาว เคี่ยวพอผักสุก ใล่กุ้งและใบมะกรูด ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาล ใส่พริกไทยอ่อน พริกชีฟัา และใบกะเพรา คนให้ทั่วชิมรสให้เต็มและเผ็ด หวานผัก ปิดไฟ3.ตักใส่ถ้วย เลิร์ฟร้อนๆ


2.แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย
ส่วนประกอบ
-ลูกชิ้นปลากราย 500 กรัม-หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง-หางกะทิ 3 ถ้วยตวง-ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ-มะเขือเปราะ 1 ลูก ผ่า 4 ซีก 2 ถ้วยตวง-พริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ 2 เม็ด-ใบโหระพา ½ ถ้วย-น้ำตาลปีบ ½ ช้อนโต๊ะ-น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ-คนอร์ซุปหมู หรือไก่ก้อน 2 ก้อน-น้ำพริกแกงเขียวหวานประมาณ 100 กรัม-กระชายซอย ¼ ถ้วยตวง-ส่วนผสมน้ำพริกแกงเขียวหวาน-พริกชี้ฟ้าเขียว 2 ช้อนโต๊ะ-พริกขี้หนูเขียว 1 ช้อนโต๊ะ-หัวหอมแดง 2 ช้อนโต๊ะ-กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ-ข่า ½ ช้อนชา-รากผักชี 1 ช้อนชา-กะปิ 1 ช้อนชา-ลูกผักชีคั่วป่น 1 ช้อนชา-ตะไคร้ (8 กรัม) 1 ช้อนโต๊ะ-ผิวมะกรูดซอย ½ ช้อนชา-พริกไทย 10 เม็ด-เกลือ ½ ช้อนชา-ยี่หร่าคั่วป่น ½ ช้อนชา
วิธีทำ1.โขลกส่วนผสมน้ำพริกแกงเขียวหวานทั้งหมดละเอียดพักไว้2.เคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน ใส่น้ำพริกลงผัดให้หอมและแตกมันใส่ลูกชิ้นปลาลงผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล และคนอร์ซุปหมูก้อน หรือคนอร์ซุปไก่ก้อน3.ตั้งหม้อบนไฟกลางใส่หางกะทิ รอจนเดือด ใส่มะเขือเปราะต้มจนมะเขือสุกชิมรสตามชอบ4.ใส่กระชายซอย พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูด และใบโหระพายกลงจากเตา ตักใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ5.วิธีทำจากคนอร์สูตรสำเร็จแกงเขียวหวาน6.เคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน เติมหางกะทิ ใส่คนอร์สูตรสำเร็จเแกงเขียวหวาน เคี่ยวให้เดือด7.ใส่ลูกชิ้นปลากราย มะเขือเปราะ มะเขือพวง ต้มจนมะเขือและลูกชิ้นปลากรายสุก ใส่กระชายซอย พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูด ใบโหระพา ยกลงจากเตา ตักใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ



3.แกงคั่วหอยขม
ส่วนผสมที่ใช้ทำแกงคั่วหอยขม
เครื่องปรุงหอยขม 1 กิโลกรัม , พริกแห้ง 5 เม็ด , มะพร้าวขูด 1/2 กิโลกรัม , ปลาดุกย่างขนาดกลาง 1 ตัว , หอมแดง , กระเทียม , ตะไคร้ , ข่า , กะปิ , เกลือ ( หรือใช้น้ำพริกแกงเผ็ดก็ได้ครับ )

ขั้นตอนและวิธีทำแกงคั่วหอยขม
1. เอาหอยขมแช่น้ำให้คายดินเสียก่อน แล้วต่อยก้นออกแช่น้ำไว้
2.พริกแห้งแกะเมล็ดแช่น้ำ ปอกหอมแดง กระเทียม หั่นข่า ตะไคร้ ใส่ครก พร้อมกับใส่เกลือพอสมควร สงพริกแห้งขึ้นใส่ครกโขลกจนเครื่องแกงละเอียด ใส่กะปิแกะปลาย่างใส่ตำให้เข้ากัน( ขั้นตอนนี้ใช้น้ำพริกแกงเผ็ดแทนเลยครับ มันเร็วดี )
3.เอามะพร้าวคั้นกะทิ ( หรือกะทิกล่อง ) ให้ได้พอเหมาะกับหอยขมใส่หม้อตั้งไฟ พร้อมทั้งละลาย พริกแกง พอเดือด ใส่หอยขมลงไป แล้วปิดฝาหม้อ 
4.รอให้แกงเดือดอีกครั้งเป็นอันเสร็จ


สูตรอาหาร (ยำ)


อาหารประเภทยำ


1. ยำตับหมู
วิธีทำยำตับหมู
เครื่องปรุง-  ตับหมู 1/2 กิโลกรัม-  ต้นหอม 10 ต้น- ตะไคร้ 2 ต้น- ใบมะกรูด 5 ใบ- ผักชี 3 ต้น- กระเทียม 1 หัว- รากผักชี 3 ราก- ผักชี้ผ้า 5 เม็ด- น้ำปลา- น้ำตาลทราย- มะนาว วิธีการทำ1.ล้างตับหมู ตับให้สุก แล้วหั่นฝอย ตะไคร้ ใบมะกรูดต้นหอยผักชี หั่นฝอยทั้งหมด2.กระเทียม พริกชี้ฟ้า รากผักชี โขกละเอียดตักละลายกับมะนาว3.คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรส ชิม ตักใส่จาน


2.ยำปลากรอบ
วิธีทำยำปลากรอบส่วนผสมที่ใช้ทำยำปลากรอบ- ปลากรอบตัวใหญ่ 2 ไม้- กระเทียมดอง 10 หัว- เต้าหู้เหลืองอย่างแข็ง 1 อัน- ขิงสด 1 แง่ง- ผักชี 10 ต้น- กระเทียม 1 หัว- รากผักชี 5 ราก- พริกชี้ฟ้าแดง 3 เม็ด- น้ำปลา- น้ำตาลปิ๊บ- มะนาว- พริกขี้หนูสด- น้ำมันหมูวิธีการทำ1.ปลากรอบย่างไฟอ่อนๆจนเหลือง2.กระเทียมดองหั่นบางๆ3.ขิงสด ปอกเปือกซอยบางๆ4.ผักชีเด็ดเป็นใบๆ5.เต้าหู้เหลืองหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ แล้วทอดให้เหลืองกรอบ6.กระเทียม รากผักชี  ฟริกขี้หนูโขนกหยาบๆ ตักใส่ถ้วย ละลายกับมะนาว น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ7.เทใส่จานปลากรอบ พร้อมด้วยกระเทียมดอง ขิงสด8.เคล้าให้เข้ากันทั่วแล้วโรยเต้าหู้กับผักชี จัดเสิร์ตใส่จาน


3.ยำใหญ่
วิธีทำยำใหญ่ส่วนผสม-กุ้งสดแกะเปลือกผ่าหลัง 100 กรัม-ปลาหมึกบั้งหั่นชิ้นพอคำ 100 กรัม-ตับหมูหั่นชิ้นพอคำ 40 กรัม-ไข่ต้มสุกผ่าเสี้ยว 1/2 ฟอง-แครอทซอยเป็นเส้น 10 กรัม-แตงกวาหั่นเป็นเส้น 10 กรัม-หอมใหญ่หั่นเสี้ยว 20 กรัม-ขึ้นฉ่ายหั่นท่อนสั่น 10 กรัม
น้ำยำ-พริกขี้หนูเขียวแดง-(โขลกพอแหลก) 10 กรัม-น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ-น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ-น้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ1.ลวกกุ้ง ปลาหมึก และตับหมูในน้ำเดือด ให้พอสุก ตักใส่อ่างผสม2. ปรุงน้ำยำโดยผสมน้ำมะนาว น้ำปลา และน้ำเชื่อมเข้าด้วยกัน 3.ใส่พริกขี้หนูคนพอทั่ว เทลงอ่างผสมกับเนื้อสัตว์ที่ลวกไว้4. ใส่แครอท แตงกวา หอมใหญ่ และขึ้นฉ่าย คลุกเคล้าให้เข้ากัน5. ตักใส่จาน วางไข่ต้มไว้ด้านบน

อาหารไทย 4 ภาค


1. อาหารภาคกลาง
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้นานาชนิด ด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของ อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วมรับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้น

2.อาหารภาคใต้
 พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมทำประมง ด้วยเหตุนี้อาหารหลักของภาคใต้จึงเป็นอาหารทะเลสด และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติจะเผ็ดร้อน เค็มและเปรี้ยว เช่น แกงไตปลา แกงส้ม และแกงเหลือง อาหารภาคใต้นิยมทานควบคู่กับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งเรียกว่า ผักเหนาะ เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอเป็นต้น


3.อาหารภาคเหนือ
เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆการรับประทานอาหารของทางภาคเหนือจะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่า ขันโตก แทน โต๊ะอาหาร โดยจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยอาหารของทางภาคเหนือจะเป็นอาหารที่สุกมากๆ และเป็นอาหารประเภทที่ผัดกับน้ำมันเป็นส่วนใหญ่      



4.อาหารภาคอีสาน
 เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้ อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่   อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด

ประเภทของอาหารไทย


1. อาหารประเภทผัด เป็นวิธีปรุงที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนแม้ไม่ได้วิธีไทยดั้งเดิมแต่ได้เข้ามา แพร่หลายในเมืองไทยนานกว่าร้อยปี และมีการดัดแปลงผสมผสานจนเข้ากับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างดี อาทิ เช่น ผัดเผ็ด ผัดพริกขิง เป็นต้น 

2. อาหารประเภทแกง และต้ม อาจจำแนกย่อยได้ตามจำนวนของเครื่องเทศที่ใช้ เช่น แกงเลียง จัดว่าเป็นแกงที่มีเครื่องแกงน้อยที่สุด แต่เครื่องแกงนั้นเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของเครื่องแกงกลุ่มแกงส้ม แกงป่า แกงเผ็ด จนถึงแกงที่ถือว่ามีส่วนประกอบในเครื่องแกงมากที่สุด คือ แกงกะหรี่ แกงมัสมั่นเป็นต้น หรืออาจจำแนกได้จากการใช้หรือไม่ใช้กะทิในการปรุงอาหาร หรือการจำแนกตามรสชาติของอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม ต้มจืด หรือแม้แต่การแบ่งตามสีของอาหารเช่นแกงแดง แกงเขียวหวาน เป็นต้น

3. อาหารประเภทยำ และพล่า สามารถจำแนกย่อยได้ต่าง ๆ กัน เช่น การจำแนกตามวิธีการเตรียมอาหาร เช่น ถ้าทำเนื้อสัตว์ให้สุกจะจัดเป็นพวกยำ ถ้าดิบ ๆ สุก ๆ จะเรียกว่า พล่า โดยมีการใช้เครื่องเทศที่แตกต่างกันบ้าง เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ การจำแนกตามลักษณะของการปรุง เช่น ยำใส่กะทิ หรือมะพร้าวคั่ว ได้แก่ ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี ยำส้มโอ และยำไม่ใส่กะทิ ได้แก่ ยำใหญ่ ยำวุ้นเส้น ยำปลาดุกฟูนอกจากนี้ยังมีการจำแนกตาม รสชาติของอาหารยำ เช่น ยำที่มีรสหวานนำ ยำที่มีรสเปรี้ยวเค็มนำ เป็นต้น  

4. อาหารประเภทเครื่องจิ้ม จำแนกออกเป็นน้ำพริก และหลน นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงการใช้พืช ผัก มาเป็นของแนม โดยน้ำพริกแต่ละชนิดจะมีการเตรียมผักที่ต่างกัน มีทั้งผักดิบ และผักต้ม ผักต้มลวกราดกะทิ ผักผัดน้ำมัน และผักทอด ทั้งชุบแป้ง และชุบไข่ทอด เช่น การรับประทานผักต้มกะทิ ผักชุบไข่ทอดกับน้ำพริกกะปิ เป็นต้น        
5. อาหารประเภทเครื่องเคียง เป็นอาหารที่ช่วยเสริมให้อาหารในสำรับอร่อย หรือเด่นขึ้น ได้แก่ ห่อหมก ทอดมัน หมี่กรอบ ที่รับประทานร่วมกับแกงมัสมั่น ปลาดุกย่าง ปลาดุกฟู รับประทานร่วมกับนํ้าพริก เนื้อเค็มทอด รับประทานร่วมกับแกงเผ็ด เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของอาหารไทย



อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทยที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆกันมา
จุดกำเนิดอาหารไทย 
อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้


สมัยสุโขทัย
อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกและวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้งส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

  สมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกจากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่ายยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกงและคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อ ดับกลิ่นคาวของ   เนื้อปลา        
 หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติ ต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายที่ ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆและจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่า อาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน   และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด

สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ ของไทย       ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทย จากกรุงสุโขทัยมาถึง     สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีและยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน [แก้] สมัยรัตนโกสินทร์ การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่ นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้             คือ ยุคที่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ จนถึงรัชกาลที่ และยุคที่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้

สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)                                                                                                                
  อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรีแต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาวอาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ในงานสมโภชน์พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม                                                                                                                                                                           
        บทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิดซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่นและรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทยจากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหาร คาวหรือกับข้าวและอาหารว่าง                                                                                                                              
              ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้ง เรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้น
·         สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2394 – ปัจจุบัน)
    ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ                                                                                                                       ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่     น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วนประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิมจึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิมและขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย